นวัตกรรมและเทคโนโลยี

นวัตกรรมการศึกษา

"นวัตกรรมการศึกษา (Educational Innovation )" หมายถึง นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษา และการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม เกิดแรงจูงใจในการเรียนด้วยนวัตกรรมการศึกษา และประหยัดเวลาในการเรียนได้อีกด้วย ในปัจจุบันมีการใช้นวัตกรรมการศึกษามากมายหลายอย่าง ซึ่งมีทั้งนวัตกรรมที่ใช้กันอย่างแพร่หลายแล้ว และประเภทที่กำลังเผยแพร่ เช่น การเรียนการสอนที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Aids Instruction) การใช้แผ่นวิดีทัศน์เชิงโต้ตอบ (Interactive Video) สื่อหลายมิติ ( Hypermedia ) และอินเทอร์เน็ต [Internet] เหล่านี้ เป็นต้น (วารสารออนไลน์ บรรณปัญญา.htm) “นวัตกรรมทางการศึกษา” (Educational Innovation) หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียน และช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน เช่น การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้วีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ(Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต เหล่านี้เป็นต้น เทคโนโลยีทางการศึกษา


เทคโนโลยี หมายถึงการใช้เครื่องมือให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในการแก้ปัญหา ผู้ที่นำเอาเทคโนโลยีมาใช้ เรียกว่านักเทคโนโลยี (Technologist) (boonpan edt01.htm) เทคโนโลยีทางการศึกษา (Educational Technology) ตามรูปศัพท์ เทคโน (วิธีการ) + โลยี(วิทยา) หมายถึง ศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีการทางการศึกษา ครอบคลุมระบบการนำวิธีการ มาปรับปรุงประสิทธิภาพของการศึกษาให้สูงขึ้นเทคโนโลยีทางการศึกษาครอบคลุมองค์ประกอบ 3 ประการ คือ วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ (boonpan edt01.htm)



วันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

8.โครงการเลี้ยงสัตว์พระราชทาน

ความเป็นมา


บก.ตชด.ภาค 3 ได้รับมอบพันธุ์โคและสุกร จากโครงการเกษตรแม่แตง ( อยู่ในความรับผิดชอบของ มว.พก.
ร้อย ตชด. 332 ) และมอบให้ กก.ตชด. 31 – 34 นำไปแจกจ่ายให้ประชาชนในถิ่นทุรกันดารและชาวไทยภูเขาเพื่อ
ไปขยายพันธุ์
โคพระราชทานในส่วนของ บก.ตชด.ภาค 4 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พระราชทานโคพันธุ์อเมริกันบรามัน 1 ตัว ชื่ออพอลโล่ ให้ กก.ตชด.เขต 9 และนำไปเลี้ยงไว้ที่ กองร้อย 2 อ.นาทวี
จ.สงขลา พระราชประสงค์ในการมอบ โคพันธุ์ เพื่อให้ ตชด.นำไปเลี้ยงขยายพันธุ์กับโคพันธุ์พื้นเมืองเพื่อแจกจ่าย
ให้กับราษฎรที่ยากจนในถิ่นทุรกันดารโดยให้ราษฎรที่มีแม่โคพันธุ์พื้นเมืองนำมาผสมพันธ์กับโคพันธุ์พระราชทาน
ที่กองร้อย 2 ฯ โดยมีเงื่อนไขว่า หลังจากผสมพันธุ์แล้ว ได้ลูกตัวแรกให้ตกเป็นของเจ้าของแม่โค และลูกโคตัวที่ 2
เป็นของ ตชด. ข้อตกลงนี้ได้ดำเนินการมาเป็นเวลาหลายปี ต่อมาการผสมพันธุ์ไม่ประสบผลสำเร็จเนื่องจากพ่อโค
อายุมาก และน้ำหนักตัวมากและโคพันธุ์พระราชทานก็ตายเพราะอายุมาก สำหรับลูกโคที่ ตชด.ได้รับไว้
ส่วนมากจะเป็นพันธุ์ผสมอเมริกันบรามัน 65 เปอร์เซ็นต์ และได้แจกจ่ายให้กับ กองร้อย ตชด.
และ ร.ร.ตชด.เพื่อทำการขยายพันธุ์ตามพระราชประสงค์

ผลการปฏิบัติ :
ต.ค. – ก.ย.45 บก.ตชด.ภาค 3 และบก.ตชด.ภาค 4 ได้รายงานยอดสัตว์เลี้ยง ดังนี้
บก.ตชด.ภาค 3
1. กก.ตชด.31 โค จำนวน 12 ตัว
สุกร จำนวน 7 ตัว
2. กก.ตชด.32 โค จำนวน 14 ตัว
3. กก.ตชด.33 โค จำนวน 53 ตัว
ล่อ จำนวน 0 ตัว
สุกร จำนวน 9 ตัว
4. กก.ตชด.34 โค จำนวน 5 ตัว
บก.ตชด.34
1. กก.ตชด.42 โค จำนวน 0 ตัว
2. กก.ตชด.43 โค จำนวน 8 ตัว
3. กก.ตชด.44 โค จำนวน 0 ตัว
***จำนวนโคอาจมีการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากการตายหรือการ

7.โครงการฝึกอบรมศิลปาชีพบนพระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์

ความเป็นมา

เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2534 เวลา 12.00 น. พล.ต.ต.วัฒนา บุนนาค ผบก.ตชด.ภาค 3 ,พ.ต.อ.กุลเชษฐ์ สิงหรา ณ อยุธยา ผกก.ตชด.33,พ.ต.ท.ชัชวาล สุคธมาน หนผ.5 กก.ตชด.33 ได้เดินทางเข้าพบท่านผู้หญิงสุประภาดา เกษมสันต์ราชเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระบรมราชินีนาถณ ตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ .งได้ขอให้นำข้อมูลเกี่ยวกับหมู่บ้านยากจน ในพื้นที่ จว.แม่ฮ่องสอน และจ.เชียงใหม่ ไปพบ เนื่องจากได้รับพระราชเสาวนีย์สมเด็จพระบรมราชินีนาถ ใหตำรวจตระเวนชายแดนซึ่งปฏิบัติหน้าที่อยู่ใกล้ชิดประชาชนในเขตหมู่บ้านดังกล่าวมาเข้ารับการอบรมวิชาชีพที่ศูนย์ฝึกศิลปาชีพบนพระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ จากการเข้าพบในครั้งนี้ได้มี ดร.ไพศาล ล้อมทองและคุณนิพนธ์ เล้าสินวัฒนา เจ้าหน้าที่สำนักพระราชวังซึ่งดูแลเรื่องการฝึกอาชีพนี้ร่วมพิจารณาด้วย
จากการนำเสนอข้อมูลราษฎรในหมู่บ้านยากจนเข้าชี้แจงครั้งนี้ ท่ายผู้หญิงสุประภาดา เกษมสันต์ ได้พิจารณา
และขอให้ทางกองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค 3 และกงอกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 33
พิจารณาความเหมาะสมและสมัครใจของราษฎรหมู่บ้านยากจนในเขต จ.แม่ฮ่องสอน และจ.เชียงใหม่ มาเข้าอบรม
ศิลปาชีพในพระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ จำนวน 29 คนเป็น ชาย-หญิง ที่สมัครใจโดยมิต้องมีความรู้วิชาชีพเดิม
มาก่อนก็ได้ โดยให้ชี้แจงแกราษฎรว่ามีวิชาชีพต่างๆ ให้เลือกฝึก ทางศูนย์ศิลปาชีพจัดที่พักอาศัย อาหาร เสื้อผ้า
และเบี้ยเลี้ยง วันละ 50.- บาทให้ด้วย ขอให้นำราษฎรที่สมัครใจเข้ารับการอบรมโดยเร็ว ช่วงระยะเวลาในช่วงแรก
ที่ทรงแประพระราชฐานอยู่ที่พระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์นี้
ดร.ไพศาล ล้อมทอง ได้ขอข้อมูลเบื้องต้น หมู่บ้านที่นำราษฎรมาอบรมแผนผังหมู่บ้าน เส้นทางเข้า-ออก หมู่บ้าน
โดยสังเขปทั้งหมดด้วย และขอให้จัดเจ้าหน้าที่ ตชด.1 นาย เพื่อช่วยประสานงานในศูนย์ฝึกบนพระตำหนักภูพิงค์ด้วย
ผกก.ตชด.33 ได้มอบหมายให้ ร.ต.อ.พงค์พิชญ์ วงศ์สวัสดิ์ ปจผ.5กก.ตชด.33เป็นเจ้าหน้าที่ติดต่อและเจ้าหน้าที่ตำรวจ
ตระเวนชายแดนที่มีความรู้ทางภาษาท้องถิ่น 1 นายเป็นเจ้าหน้าที่ประสานงาน
คุณนิพนธ์ เล้าสินวัฒนา ได้นำคณะ ผบก.ฯไปเยี่ยมชมการฝึกอาชีพต่างๆ ที่ศูนย์ในพระตำหนักซึ่งมีอาชีพ
สาขาต่างๆ ได้แก่
- ฝึกทอผ้า - ดอกไม้ประดิษฐ์
- ช่างเงิน - ช่างถมทอง
- ช่างปั้นเซรามิก - ตัดเย็บเสื้อผ้า
- วาดภาพ - แกะสลักไม้
ฯลฯ
และได้ให้หมายเลขโทรศัพท์ในการติดต่อประสานงานในเรื่องนี้คือ โทร.223066-72
กก.ตชด.33 ได้รับนโยบาย และได้เร่งดำเนินการพิจารณาจากหมู่บ้านยากจน จาก จ.แม่ฮ่องสอน , จ.เชียงใหม่
ตามที่ได้นำรายละเอียดเกี่ยวกับหมู่บ้านที่ทาง กก.ตชด.33 เข้าไปพัฒนาเสริมความมั่นคงอยู่ เพื่อเข้ารับการอบรมโดยด่วน
และสามารถรับราษฎรมาเข้ารับการอบรมได้ในวันที่ 4 มี.ค.2534 กก.ตชด.33ได้คัดเลือกราษฎรในพื้นที่ จ.เชียงใหม่ ,
จ.แม่ฮ่องสอน เข้ารับการฝึกอบรมศิลปาชีพ ณ ตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ ในครั้งนี้ จำนวน 29 คน โดยแยกได้ ดังนี้
1. บ้านห้วยหอย ต.แม่วิน กิ่ง อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่
1.1 นายดี บอแป๊ะ
1.2 นายเกชิด พะแก
2. อำเภอแม่ลาน้อย จ.แม่ฮ่องสอน
2.1 นายซอกิริ เฉิดโฉมฉาย
2.2 นายทองสุข ไพรขจี
2.3 น.ส.พร กันเต็ง
2.4 น.ส.นงคราญ ปิ่นตาคำ
2.5 น.ส.หน่อปูทอ เฉิดโฉมฉาย
2.6 น.ส.มะลิวัลย์ เชิงประโคนรักษ์
2.7 น.ส.แสงรักษ์ นำผลนักรบ
2.8 นายไพโรจน์ ซาววงศ์
2.9 นายตัน ซาววงศ์
2.10 น.ส.แสงคำ เกิดสันติสุข
2.11 น.ส.สมศรี จองก่า
2.12 นายแดง นิ่มนวลสิงขร
2.13 นายส่วยคำ ลักษณะพรรณดี
2.14 นายยุติ วาทีบุปผา
2.15 น.ส.สวย เหล่าตระกูลไพร
2.16 น.ส.อังคณา สุเสถียรจรัส
3. อำเภอขุนยวม จ.แม่ฮ่องสอน
3.1 นายสมศักดิ์ ฤดีพรพรรณ
3.2 นายสมหวัง สถิตย์สุนทร
3.3 น.ส.ประยงค์ -
3.4 น.ส.สำลี กอนันทนานนท์
3.5 นายจำลอง ก้อนปัญจธรรม
3.6 นายอำพัน ผาตินันทะชัย
3.7 นายสุพจน์ ชมชอบธรรม
3.8 นายกระจ่าง -
3.9 นายกุแนะ -
3.10 น.ส.ฟองจันทร์ ปกรณ์ไพรวนา
3.11 น.ส.บุญธรรม ใจรวมหมู่
ผู้เข้ารับการอบรมทั้ง 29 คน ได้เลือกฝึกอบรม 3 แผนก ดังนี้
1. แผนกเกษตรหมู่บ้าน มีผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 15 คน
- การปลูกข้าวไร่ - การปลูกข้าวโพด
- พืชผักสวนครัว - การติดตา การตอน ทาบกิ่ง เสียบยอด
- การขุดบ่อเลี้ยงปลา - การเลี้ยงปลานิล,ปลาไน
2. แผนกทอผ้าฝ้าย มีผู้รับเข้าการอบรม จำนวน 6 คน
- การทอฝ้ายขั้นพื้นฐาน - การเก็บตะขอ
- การย้อมสีฝ้าย ( สีเคมี )
3. แผนกปักผ้า มีผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 8 คน
- ปักผ้าลายชาวเขา - ปักผ้าลายดอกไม้
การฝึกอบรมใช้วิทยากรจากศูนย์ศิลปาชีพสวนจิตรลดา กทม.ฯ พร้อมทั้ง จนท.เกษตรในพระองค์ประจำพระตำหนัก
ภูพิงค์ราชนิเวศน์ เป็นวิทยากรบรรยาย จนเสร็จสิ้นการอบรม ในระหว่างการฝึกอบรมทางศูนย์ฯได้จ่ายเบี้ยเลี้ยงให้วันละ
50.-บาท/คน โดยทางศูนย์ฯจ่ายเงินเป็นงวดๆ ละ 6 วัน ผู้เข้ารับการอบรมได้รับเงินทั้งหมด 3 งวดๆละ 300.-บาท ( ยกเว้น
วันแรกได้รับ 250.-บาท )
ผู้เข้ารับการอบรมได้รับการอบรม จนถึงวันที่ 24 มี.ค.34 และได้รับเงินพระราชทานจากสมเด็จพระนางเจ้าฯ
พระบรมราชินีนาถ ดังนี้
- ได้รับรายละ 5,000.- บาท 2 ราย
1. นายไพโรจน์ ซาววงศ์
2. นายตัน ซาววงศ์
- ได้รับรายละ 4,000.- บาท 2 ราย
1. นายซอกิริ เฉิดโฉมฉาย
2. นายทองสุข ไพรขจี
- ได้รับรายละ 3,000.- บาท 25 รายที่เหลือทั้งหมด
ราษฎรทั้ง 29 คน ที่จบการฝึกอบรมฯ ไปแล้วได้กลับไปประกอบอาชีดที่ภูมิลำเนาของตนเอง ตั้งแต่ มี.ค.34เป็นต้นมา
และกก.ตชด.33 ได้มอบหมายให้ ร้อย ตชด. ในพื้นที่รับผิดชอบจัดเจ้าหน้าที่ตำรวจไปติดตามผลการปฏิบัติงาน พร้อมกับ
รับทราบปัญหาอุปสรรคต่างๆ เพื่อจะนำไปแก้ไขต่อไป พร้อมกับรายงานผลให้หน่วยเหนือรับทราบ

6.โครงการเกษตรแม่แดง

ความเป็นมา
กก.ตชด.เขต 5 ( เดิม ) มีหน้าที่รับผิดชอบ 4 จังหวัด คือเชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน และน่าน ภูมิประเทศทั้ง
4 จังหวัด เป็นภูเขาสูงป่าทึบและทุรกันดารการคมนาคมลำบาก การขนส่งสัมภาระกระทำได้ 2 วิธี คือการขนส่งทาง
อากาศโดยเฮลิคอปเตอร์หรือเครื่องบิน ส่วนทางบกใช้สัตว์ต่างเพราะไม่มีเส้นทางคมนาคม การขนส่งทางอากาศ สะดวก
รวดเร็ว แต่ยานพาหนะไม่เพียงพอ ส่วนทางบกต้องเช้าหรือว่าจ้างสัตว์ของราษฎรทำการขนส่ง ซึ่งยุ่งยากลำบากไม่ทันกับ
เหตุการณ์
กก.ตชด.เขต5เดิม และที่ปรึกษาอเมริกัน ได้ร่วมกันพิจารณาปัญหานี้และมีมติว่า ตชด.สมควรจะมีสัตว์ต่างๆ
ขนส่งสัมภาระกันเอง และเห็นว่าเป็นสัตว์ที่แข็งแรงอดทน เหมาะสมที่สุด ดังนั้นในปี 2505 กก.ตชด.เขต5 ( เดิม )
จึงขอเข้าทำประโยชน์ในที่ป่าสงวนป่าอินทขิล ตำบลอินทขิล อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ ระหว่าง กม. ที่45-48 ถ.เชียงใหม่
– ฝาง เนื้อที่ทั้งสิ้น 5,625 ไร่ กระทรวงเกษตรฯ ได้เพิกถอนป่าอินทขิลตาม พ.ร.ก. กำหนดป่าอินทขิล ตามกฎกระทรวง
ฉบับที่ 129 ( พ.ศ.2505 ) ประกาศตามราชกิจจานุเบกขา 6 พ.ค. 2505 เล่มที่ 79 ตอนที่ 99 และอนุมัติให้กรมตำรวจ
เข้าทำประโยชน์ในพื้นที่น
ี้ ในปี พ.ศ.2506 ที่ปรึกษาอเมริกัน ได้เงินทุนสมทบมาดำเนินการก่อสร้างโรงเรียนและสำนักงานถาวรและจัดหา
พ่อพันธุ์ม้า มาดำเนินการผลิตล่อตามโครงการ การดำเนินงานบรรลุเป้าหมาย
ต่อมาในปี พ.ศ. 2508 กก.ต.ช.ด.เขต 5 ( เดิม ) และที่ปรึกษาอเมริกันมีความเห็นร่วมกันว่าประชาชนในพื้นที่
รับผิดชอบมีอาชีพกสิกรรมและเลี้ยงสัตว์ แต่มิได้นำวิวัฒนาการทางการเกษตรไปใช้คงดำเนินการเยี่ยงบรรพบุรุษ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำไร่เลื่อนลอย เป็นการทำลายทรัพยากรธรรมชาติอย่างใหญ่หลวงและชาวเขาปลูกฝิ่นอันเป็น
การกระทำที่ผิดกฎหมาย สมควรจะทำการพัฒนาด้านอาชีพเข้าไปช่วยเหลือในรูปศูนย์พัฒนาการ โดยใช้คนในพื้นที่
เป็นเจ้าหน้าที่ดำเนินการ
เป้าหมายหลักของศูนย์พัฒนาการคือการแนะนำและสาธิตเกี่ยวกับการปลูกพืชเลี้ยงสัตว์เจ้าหน้าที่ประจำศูนย
์พัฒนาการจะต้องได้รับการอบรม และจะต้องมีพรรณสัตว์และพืชสนับสนุนโครงการจึงจะสำเร็จ การดำเนินการในปีแรก
สิ้นเปลืองค่าสัตว์และพืชเป็นวงเงินสูงมาก แต่ไม่ได้สัตว์หรือพืชที่เหมาะสมกับภูมิประเทศ
เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการจัดหาพรรณสัตว์และพืช จึงได้ตั้งโครงการผลิตพรรณสัตว์และพืชเอง โดยให้หน่วยผลิต
และฝึกสัตว์ต่าง ที่อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ รับผิดชอบดำเนินการ เมื่อรวมกิจการทั้ง 2 เข้าด้วยกันแล้วเรียกว่า “
หน่วยผสมพรรณสัตว์และพืชเกษตรแม่แตง ” จากการดำเนินงานปรากฏว่าสามารถผลิตสัตว์สนับสนุนศูนย์พัฒนาการได
้ตามความต้องการ ส่วนพืชยืนต้นนั้นยังไม่สามารถผลิตแจกจ่ายได้เพราะเป็นพืชที่ต้องใช้เวลานาน
พื้นที่ใช้ดําเนินการนี้ ได้แบ่งให้ กก.5บก.กฝ.จัดตั้งที่หน่วย บ้านพัก จํานวน 1,208 ไร่ คงเหลือ จํานวน 4,417 ไร่
ใช้เป้นที่ดําเนินงานโครงการและมีวัตถุประสงค์ดังนี้
1.1 ชื่อโครงการ " โครงการผสมพรรณสัตว์และพืช "
1.2 ระยะเวลาดําเนินการ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2506 จนถึงปัจจุบัน
1.3 โครงการย่อย
1.3.1 โครงการผลิตพรรณสัตว์
1.3.2 โครงการขยายพรรณพืช
1.3.3 โครงการผลิตและฝึกสัตว์ต่าง
1.4 วัตถุประสงค์
1.4.1 ผลิตและฝึกสัตว์ต่างสนับสนุนการปฏิบัติทางยุทธวิธี
1.4.2 ผลิตสัตว์สนับสนุนศูนย์พัฒนาการ
1.4.3 ขยายพรรณพืชสนับสนุนศูนย์พัฒนาการ
1.4.4 ทดลองพันธุ์และสาธิตการปลูกพืชและสัตว์เลี้ยง
1.4.5 ให้เป็นสถานที่ฝึกอบรมและสาธิตในการฝึกอบรมชุดพัฒนาการ
1.4.6 ลดงบประมาณค่าสัตว์และพรรณพืช
1.4.7 ให้คําแนะนําช่วยเหลือในการปลูกพืชและสัตว์เลี้ยง แก่ชาวเขาและประชาชนไกลคมนาคม
1.5 การดําเนินงานตั้งแต่ปี 2506-2517 ใช้เงินทุนสมทบจากสหรัฐอเมริกา ในปี 2518 สหรัฐอเมริกาตัดความ
ช่วยเหลือ จึงได้ใช้งบประมาณแผ่นดินดําเนินการต่อมา
2. การดําเนินงานต่อเนื่อง-ถึงปัจจุบัน
2.1 ที่ตั้ง
กก.ตชด.33 ได้มอบหมายให้ มว.พก.ตชด.332 ไปตั้งที่ทําการ ณ โครงการผสมพรรณสัตว์และพืช
บ.ปากกว้าง ต.อนิทขิล อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ พื้นที่ดําเนินการปัจจุบันคงเหลือจํานวน 3,527 ไร่ เรียกกันว่า
" โครงการเกษตรแม่แตง " บก.ตชด.ภาค 3 ได้ใช้พื้นที่นี้จํานวน 200ไร่ เป็นที่ตั้งที่ทําการบ้านพักของ ศอน.ร.ร.ตชด.
2.2 ภารกิจ
กก.ตชด.33 ยังคงดํารงความมุ่งหมายเดิม โครงการผสมพรรณสัตว์และพืชไว้ โดยให้มว.พก.ร้อย ตชด.332
ดําเนินการเลี้ยงสัตว์ปลูกพืชและขยายพันธุ์แจกจ่าย เพื่อสนับสนุนกิจการของ ตชด.มาอย่างต่อเนื่อง และให้การช่วยเหลือผู้
ู้ประสบภัยธรรมชาติในพื้นที่ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ และใกล้เคียงอีกภารกิจด้วย
3. วัตถุประสงค์
เนื่องจากสถานการณ์ได้เปลี่ยนแปลงไป การผลิตพรรณสัตว์เพื่อสนับสนุนการปฏบัติทางยุทธวิธีได้ยกเลิกไป
คงเหลือการผลิตพรรณสัตว์และพืช เพื่อวัตถุประสงค์ดังนี้
3.1 แจกจ่าย ร.ร.ตชด. ในความรับผิดชอบเพื่อสนับสนุนโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
3.2 แจกจ่าย นร.ศอน.ร.ร.ตชด. หลังจบการศึกษาอบรม เพื่อนําไปประกอบอาชีพ
3.3 แจกจ่ายชาวไทยภูเขา และประชนไกลคมนาคมที่ยากจน
3.4 สนับสนุนการพัฒนาที่ตั้งหน่วย บก.ตชด.ภาค 3 , กก.ตชด.33 และหน่วยรองรวมทั้ง ร.ร.ตชด.
ในความรับผิดชอบ
3.5 สนับสนุนหน่วยงานอื่น เมื่อได้รับการร้องขอตามความเหมาะสม
4. งบประมาณ
บช.ตชด. ได้จัดสรรเงินงบประมาณสายพัฒนาการให้กับโครงการเกษตรแม่แตง เป็นเงิน 299,071.- บาท
แยกเป็นดังนี้ ( ตัวอย่างข้อมูลเก่า )
4.1 ค่าอาหารสัตว์ จํานวน 274,537.- บาท
4.2 ค่าจัดซื้อแม่พันธุ์สุกร จํานวน 4,000.- บาท
4.3 ค่าจัดซื้อวัสดุการแพทย์สําหรับสัตว์ จํานวน 9,199.- บาท
4.4 ค่าจัดซื้อวัสดุการเกษตรสําหรับพืช จํานวน 11,335.- บาท
รวมงบประมาณที่ได้รับ จํานวน 299,071.- บาท

5.เศรษฐกิจพอเพียง

ความเป็นมา

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเข้าพระราชหฤทัย ในความเป็นไปของเมืองไทยและคนไทยอย่างลึกซึ้งและ
กว้างไกล ได้ทรงวางรากฐานในการพัฒนาชนบทและช่วยเหลือประชาชนให้สามารถพึ่งตนเองได้มีความ" พอมีพอกิน "และมีความอิสระที่จะอยู๋ได้โดยไม่ต้องติดยึดอยู่กับเทคโนโลยีและความเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกาภิวัฒน์ ทรงวิเคราะห์ ์ว่าหากประชาชนพึ่งตนเองได้แล้วก็จะมีส่วนช่วยเหลือเสริม สร้างประเทศชาติโดยส่วนรวมได้ในที่สุด พระราชดํารัสที่สะท้อนถึงพระวิสัยทัศน์ในการสร้างความเข้มแข็งในตนเองของประชาชนและสามารถทํามาหากินให้พออยู่พอกินได้ ดังนี้
" .... ในการสร้างถนน สร้างชลประทานให้ประชาชนใช้นั้นจะต้องช่วยประชาชนในทางบุคคลหรือพัฒนาให้
บุคคลมีความรู้และอนามัยแข็งแรงด้วยการให้การศึกษาและการรักษาอนามัย เพื่อให้ประชาชนในท้องที่สามารถทําการ
เกษตรได้ และค้าขายได้.... "
ในสภาวการณ์ปัจจุบัน ซึ่งเกิดความถดถอยทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงขึ้นนี้จึงทําให้เกิดความเข้าใจได้ชัดเจนใน
แนวพระราชดําริของ " เศรษฐกิจพอเพียง " ซึ่งบได้ทรงคิดและตระหนักมาช้านาน เพราะหากเราไม่ไปพึ่งพายึดติดอยู่กับ
กระแสจากภายนอกมากเกินไป จนได้ครอบงําความคติดในลักษณะดั้งเดิมแบบไทยๆไปหมด มีแต่ความทะเยอทะยาน
บนรากฐานที่ไม่มั่นคงเหมือนลักษณะฟองสบู่ วิกฤตเศรษฐกิจเช่นนี้อาจไม่เกินขึ้น หรือไม่หนักหนาสาหัสจนเกิดความเดือด
ร้อนกันถ้วนทั่วเช่นนี้ ดังนั้น " เศรษฐกิจพอเพียง " จึงได้สื่อความหมาย ความสําคัญในฐานะเป็นหลักการสังคมที่พึงยึดถือ
ในทางปฏิบัติจุดเริ่มต้นของการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงคือ
การฟื้นฟูเศรษฐกิจชุมชนท้องถิ่นเศรษฐกิจพอเพียงเป็นทั้งหลักการและกระบวนการทางสังคมตั้งแต่ขั้นฟื้นฟูและ
ขยายเครือข่ายเกษตรกรรมยั่งยืนเป็นการพัฒนาขีดความสามารถในการผลิตและบริโภคอย่างพออยู่พอกินขึ้นไปถึงขั้นแปร
รูปอุตสาหกรรมครัวเรือน สร้างอาชีพและทักษะวิชาการที่หลากหลายเกิดตลาดซื้อขายสะสมทุน ฯลฯ บนพื้นฐานเครือข่าย
เศรษฐกิจชุมชนนี้ เศรษฐกิจของ 3 ชาติ จะพัฒนาขึ้นมาจากฐานทรัพยากรและภูมิปัญญาที่มี่อยู่ภายในชาติและทั้งที่จะพึง
คัดสรรเรียนรู้จากโลกภายนอก

เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเศรษฐกิจที่พอเพียงกับตัวเอง ทําให้อยู่ได้ ไม่ต้องเดือดร้อน มีสิ่งจําเป็นที่ทําได้โดยตัวเอง
ไม่ต้องแข่งขันกับใคร และมีเหลือเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ไม่มี อันนําไปสู่การแลกเปลี่ยนในชุมชน และขยายไปจนสามารถที่จะ
เป็นสินค้าส่งออกเศรษฐกิจพอเพียงเป็นเศรษฐกิจระบบเปิดที่เริ่มจากตนเองและความร่วมมือวิธีการเช่นนี้จะดึงศักยภาพ
ของ ประชากรออกมาสร้างความเข้มแข็งของครอบครัว ซึ่งมีความผู้พันกับ " จิตวิญญาณ "คือ " คุณค่า " มากกว่า " มูลค่า "
ในระบบเศรษฐกิจพอเพียงจะจัดลําดับความสําคัญของ " คุณค่า " มากกว่า " มูลค่า "มูลค่านั้นขาดจิตวิญญาณ
เพราะเป็นเศรษฐกิจภาคการเงิน ที่เน้นที่จะตอบสนองต่อความต้องการที่ไม่จํากัดซึ่งไร้ขอบเขตถ้าไม่สามรถควบคุม
ได้การใช้ทรพัยากรอย่างทําลายล้างจะรวดเร็วและปัญหาจะตามมา เป็นการบริโภคที่ก่อให้เกิดความทุกข์หรือพาไปหา
ความทุกข์ และจะไม่มีโอกาสบรรลุวัตถุประสงค์ในการบริโภค ที่จะก่อให้ความพอใจและความสุข( Maximization
of Satisfaction ) ผู้บริโภคต้องใช้หลักขาดทุนคือกําไร ( Our loss is our gain ) อย่างนี้จะควบคุมความต้องการ
ที่ไม่จํากัดได้ และสามารถจะลดความต้องการลงมาได้ ก่อให้เกิดความพอใจและความสุขเท่ากับได้ตระหนักในเรื่อง
" คุณค่า " จะช่วยลดค่าใช้จ่ายลงได้ ไม่ต้องไปหาวิธีทําลายทรัพยากรเพื่อให้เกิดรายได้มาจัดสรรสิ่งที่เป็น " ความอยาก
ที่ไม่มีที่สิ้นสุด " และขจัดความสําคัญของ " เงิน " ในรูปรายได้ที่เป็นตัวกําหนดการบริโภคลงได้ระดับหนึ่ง แล้วยังเป็น
ตัวแปรที่ไปลดภาระของกลไกของตลาดและการพึ่งพิงกลไกของตลาด ซึ่งบุคคลโดยทั่วไปไม่สามารถจะควบคุมได้
้ รวมทั้งได้มีส่วนในการป้องกันการบริโภคเลียนแบบ ( Demonstration Effects ) จะไม่ทําให้เกิดการสูญเสียจะทําให้
ไม่เกิดการบริโภคเกิน ( Over Consumption ) ซึ่งก่อให้เกิดสภาพเศรษฐกิจดี สังคมไม่มีปัญหา การพัฒนายั่งยืน
การบริโภคที่ฉลาดดังกล่าวจะช่วยป้องกันการขาดแคลน แม้จะไม่รํ่ารวยรวดเร็ว แต่ในยามปกติก็จะทําให้รํ่ารวยมากขึ้น
ในยามทุกข์ภัยก็ไม่ขาดแคลน และสามารถจะฟื้นตัวได้เร็วกว่าโดยไม่ต้องหวังความช่วยเหลือจากผู้อื่นมากเกินไป เพราะฉะนั้น
ความพอมีพอกินจะสามารถอุ้มชูตัวได้ ทําให้เกิดความเข้มแข็งและความพอเพียงนั้นไม่ได้หมายความว่า ทุกครอบครัวต้อง
ผลิตอาหารของตัวเอง จะต้องทอผ้าใส่เอง แต่มีการแลกเปลี่ยนกันได้ระหว่างหมู่บ้าน เมือง และแม้กระทั่งระหว่างประเทศ ที่สําคัญ
คือการบริโภคนั้นจะทําให้เกิดความรู้ที่จะอยุ่ร่วมกับระบบ รักธรรมชาติ ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง เพราะไม่ต้องทิ้งถิ่น
ไปหางานทํา เพื่อหารายได้มาเพื่อการบริโภคที่ไม่เพียงพอ
ประเทศไทยอุดมไปด้วยทรัพยากรและยังมีพอสําหรับประชาชนไทยถ้ามีการจัดสรรที่ดี โดยยึด " คุณค่า " มากกว่า
" มูลค่า " ยึดความสัมพันธ์ของ " บุคคล " กับ " ระบบ " และปรับความต้องการที่ไม่จํากัดลงมาให้ได้ตามหลักขาดทุนเพื่อ
กําไร และอาศัยความร่วมือเพื่อให้เกิดครอบครัวที่เข้มแข็งอันเป็นรากฐานที่สําคัญของระบบสังคม
การผลิตจะเสียค่าใช้จ่ายลดลงถ้ารู้จักนําเอาสิ่งที่มีอยู่ในขบวนการธรรมชาติมาปรุงแต่ง ตามแนวพระราชดําริในเรื่อง
ต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วซึ่งสรุปเป็นคําพูดที่เหมาะสมตามที่ ฯพณฯ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ที่ว่า " ....ทรงปลูกแผ่นดิน ปลูก
ความสุข ปลดความทุกข์ของราษฎร " ในการผลิตนั้นจะต้องทําด้วยความรอบคอบไม่เห็นแก่ได้จะต้องคิดถึงปัจจัยที่มีและ
ประโยชน์ของผู้เกี่ยวข้อง มิฉะนั้นจะเกิดปัญหาอย่างเช่นบางคนมีโอกาสทําโครงการแต่ไม่ได้คํานึงว่าปัจจัยต่างๆ ไม่ครบ
ปัจจัยหนึ่งคือขนาดของโรงงาน หรือเครื่องจักรที่สามารถที่จะปฏิบัติได้ แต่ข้อสําคัญที่สุด คือวัตถุดิบ ถ้าไม่สามารถที่จะให้
้ค่าตอบแทนวัตถุดิบแก่เกษตรกรที่เหมาะสม เกษตรกรก็จะไม่ผลิต ยิ่งถ้าใช้วัตถุดิบสําหรับใช้ในโรงงานนั้น เป็นวัตถุดิบที่
จะต้องนํามาจากระยะไกล หรือนําเข้าก็จะยิ่งยาก เพราะว่าวัตถุดิบที่นําเข้านั้นราคายิ่งแพง บางปีวัตถุดิบมีบริบูรณ์ ราคาอาจ
จะตํ่าลงมา แต่เวลาจะขายสิ่งของที่ผลิตจากโรงงานก็ขายยากเหมือนกัน เพราะมีมากจึงทําให้ราคาตกหรือกรณีใช้เทคโน
โลยีทางการเกษตร เกษตรกรรู้ดีว่าเทคโนโลยีทําให้ต้นทุนเพิ่มขึ้น และผลผลิตที่เพิ่มนั้นจะล้นตลาดขายได้ในราคาที่ลดลง
ทําให้ขาดทุน ต้องเป็นหนี้สิน
การผลิตตามทฤษฎีใหม่สามารถเป็นต้นแบบการคิดในการผลิตที่ดีได้ ดังนี้
1. การผลิตนั้นมุ่งใช้เป็นอาหารประจําวันของครอบตรัว เพื่อให้มีพอเพียงในการบริโภคตลอดปี เพื่อใช้เป็นอาหาร
ประจําวันและเพื่อจําหน่าย
2. การผลิตต้องอาศัยปัจจัยในการผลิต ซึ่งจะต้องเตรียมให้พร้อม เช่น การเกษตรต้องมีน้ำ การจัดให้มีและดูแหล่ง
น้ำ จะก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งการผลิต และประโยชน์ใช้สอยอื่น ๆ
3. พออกพอใจ เราต้องรู้จักพอ รู้จักประมาณตน ไม่ใคร่อยากใคร่มีเช่นผู้อื่นเพราะเราจะหลงติดกับวัตถุ ปัญญาจะ
ไม่เกิด “ การจะเป็นเสือนั้นไม่สำคัญ สำคัญอยู่ที่เราพออยู่พอกิน และมีเศรษฐกิจการเป็นอยู่แบบพอมีพอกิน แบบพอมี
พอกินหมายความว่า อุ้มชูตัวเองได้ให้มีพอเพียงกับตัวเอง”“ เศรษฐกิจพอเพียง” จะสำเร็จได้ด้วย “ ความพอดีของตน”

4.โครงการพัฒนา 5 หมู่บ้านตามแนวพระราชดำริ



ความเป็นมา

เมื่อวันที่ 29 – 30 ธันวาคม 2540 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ไปทรงเยี่ยมโครงการ
ตามแนวพระราชดำริที่โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ในพื้นที่ อ.อุ้มผาง และอ.แม่สอด จ.ตาก มีพระราชกระแสผ่าน
ว่าที่ ร.ต.กิตติ ขันธมิตร รองผู้อำนวยการโครงการส่วนพระองค์ฯ ให้กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน ดำเนินงาน
และสนับสนุนการดำเนินงานเกี่ยวกับการเรียนการสอนในพื้นที่ อุ้มผาง และอ.แม่สอด จ.ตาก รวมทั้งให้ตำรวจตระเวน
ชายแดนจัดตั้งโรงเรียนปฏิบัติการจิตวิทยาขุนห้วยแม่สอด (ร.ร.ตชด. ชั่วคราว) เป็นโรงเรียนที่ระลึกแก่ ท่านผู้หญิงทวี
มณีนุตร พระอภิบาลซึ่งถึงแก่กรรมเนื่องจากอุบัติเหตุเฮลิคอปเตอร์ในขบวนเสด็จฯ ตก เมื่อ 19 ก.ย. 40
ต่อมาเมื่อ 2 มค. 41 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระราชกระแสเพิ่มเติมกับว่าที่ ร.ต.กิตติ
ิ ขันธมิตร ณ อาคารชัยพัฒนา สวนจิตรดา เป็นการเพิ่มเติม สรุปสระสำคัญได้ว่า ให้มีการพัฒนาหมู่บ้านพะเด๊ะ หมู่บ้าน
ถ้ำเสือและหมู่บ้านขุนห้วยแม่สอด ต.พระธาตุผาแดง อ.แม่สอด จ.ตาก โดยใช้หมู่บ้านขุนห้วยแม่สอดเป็นศูนย์กลางการ
พัฒนา(ต่อมาเพิ่มอี 2 หมู่บ้าน คือ บ.หนองน้ำเขียว และ บ.โกช่วย รวมเป็น 5 หมู่บ้าน) ในการพัฒนาดังกล่าวทรงโปรด
ให้ดำเนินงาน แบบศูนย์การศึกษาพัมนาขนาดเล็ก โดยให้มีกิจกรรมครอบคลุมการแก้ไขปัญหาสำคัญต่างๆ
รวม 4 ด้าน ดังนี้
1. ให้แก้ปัญหาด้านสาธารณสุขแก่ประชาชนในพื้นที่ โดยเฉพาะปัญหาเกี่ยวกับโรคมาลาเรีย
2. ให้พัมนาอาชีพของประชาชนในพื้ นที่ เพื่อให้ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้น
3. ให้ดำเนินการเกี่ยวกับการศึกษาของเด็ก เยาวชน และประชาชนในพื้นที่
4. ให้อนุรักษ์และส่งเสริมวัฒนธรรมท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัฒนธรรมเกรี่ยง ทั้งขนบธรรมเนียม ประเพณี
ภาษาพูดและภาษาเขียน
หลังจากที่ได้รับพระราชทานแนวพระราชดำริแล้ว สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สามเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกมารี ร่วมกับกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน และหน่วยราชการในพื้นที่ได้จัดการประชุมร่วมกันเพื่อ
จัดทำแผนแม่บทในการพัฒนาพื้นที่ 3 หมู่บ้านคือ หมู่บ้านพะเด๊ะ หมู่บ้านเสือถ้ำ และหมู่บ้านขุนห้วยแม่สอด
ต.พระธาตุผาแดง อ.แม่สอด จ.ตาก
แผนแม่บทในการพัฒนาพื้นที่เป้าหมาย 3 หมู่บ้าน ตามแนวพระราชดำริ ประกอบด้วย 6 แผนงาน ดังนี้
1. แผนงานด้านสาธารณสุข
2. แผนงานด้านการศึกษา
3. แผนงานด้านการแก้ไขปัญหาชุมชน
4. แผนงานด้านการบริหารจัดการ

วัตถุประสงค์ในการพัฒนา
1. เพื่อแก้ไขปัญเฉพาะหน้าที่ประชาชนเผชิญอยู่ ทั้งปัญหาด้านสาธารณสุข การศึกษา อาชีพ และปัญหาอื่นๆ
ของชุมชน
2. เพื่อจัดเตรียมประชาชนให้มีความพร้อมสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืนอันจะนำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างถาวร
3. เพื่อให้ชุมชนเป็ฯศูนย์การศึกษาพัฒนาของท้องถิ่นใกล้เคียง

แนวทางในการพัฒนา
1. มีการพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างต่อเนื่อง โดยมีเป้าหมาย “พอมี พอกิน และอยู่อย่างเป็นสุข”
2. มีการรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยใช้จุดแข็งทางวัฒนธรรรมทางสังคมให้เป็นประโยชน์ในการ
จัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่นให้กลับสู่ความสมบูรณืมีความสมดุล
กับระบบนิเวศน์ในพื้นที่ รวมทั้งการรักษาสิ่งแวดล้อมให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของประชาชนในชุมชนให้สามารถนำมา
ใช้ประโยชน์ได้
3. การรักษาวิถีชีวิต ประเพณี วัฒนธรรมอันดี โดยมีการศึกษาค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับวิถีชีวิตประเพณีและวัฒนธรรม
ของประชาชนในชุมชนรวมทั้งประยุกต์กิจกรรมในการพัฒนาให้เข้ากับวิถีชีวิตประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่น

การปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมายของการพัฒนา
1. การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า คือ การมุ่งเน้นแก้ไขปัญหาของประชาชน ตามแนวพระราชดำริของสมเด็จพระเทพ
รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทั้งในด้านสาธารณสุข ด้านการศึกษา ด้านอาชีพ รายได้และด้านการอนุรักษ์ประเพณี
วัฒนธรรม โดยการเน้นให้เกิดกระบวนการ ร่วมคิด – ร่วมทำ ระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐและประชาชน เป็นการกระตุ้นเร้า
ให้ประชาชนมีบทบาทในการพัฒนาชุมชนของตนเอง
2. การพัฒนาคนให้คิดเอง – ทำเอง ผลที่จะได้รับจากการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเมื่อประชาชนได้รับการกระตุ้น
ให้เข้ามีส่วนร่วมในกิจกรรมการพัฒนา เจ้าหน้าที่ของรัฐจะต้องพยายามให้ประชาชนมีบทบาทในการร่วมคิดร่วมทำเองได้
3. การสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง โดยใช้กิจกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเป็นเครื่องมีในการสร้างความเข้มแข็ง
ให้แก่ชุมชน กล่าวคือในการดำเนินงานทุกกิจกรรมนอกจากจะให้ประชาชนมีส่วนร่วมคิดร่วมทำแล้ว ยังต้องทำให้เกิดการ
รวมกลุ่มกันอย่างเข้มแข็งอย่างถาวร นอกจากนี้ยังต้องเสริมสร้างและพัฒนศักยภาพของชุมชนในทุกด้าน ให้มีศักยภาพ
เพียงพอจนสามารถพึ่งตนเองได้ในที่สุด

3.โครงการอุทยานนานาชาติสิรินทรสิ่งแวดล้อม

ความเป็นมา

เนื่องด้วยลักษณะภุมิประเทศบริเวณพื้นที่ชายแดนภาคเหนือของประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงชันและเป็นท้องถิ่นทุรกันดารราษฎรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ดังกล่าวส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านการเกษตรซึ่งมีพื้นที่ดำเนินการจำกัด ประกอบกับบ่อยครั้งที่ต้องประสบภัยทางธรรมชาติ ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรได้รับความเสียหายอยู่เสมอ อันเป็นผลให้ราษฎร ต้องขาดแคลนข้าวเพื่อบริโภคในบางปีเหตการณ์เหล่านี้พระบาทสมเด็พระเจ้าอยู่หัวฯได้ทรงรับทราบและทรงมีความห่วงใยพสกนิกร ผู้ประสบภัยทางธรรมชาติ
เป็นอย่างยิ่งพระองค์ทรงมีพระราชดำริในชั้นต้น เพื่อหาแนวทางที่จะแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อเป็นการช่วยเหลือ
บรรเทาความเดือดร้อนของราษฎรเหล่านั้น จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้รีบดำเนินการช่วยเหลือโดย การจัดตั้งโครงการ
ธนาคารข้าวขึ้นในหมู่บ้านที่ประสบภัยดังกล่าวขึ้น

วัตถุประสงค์ของการจัดตั้ง
เพื่อให้เป็นไปตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของราษฎรที่ประสบทุพภิกขภัยในถิ่นทุรกันดาร
เพื่อให้ราษฎรผู้ประสบภัยมีข้าวพอเพียงต่อการบริโภคตลอดปี
เพื่อป้องกันผู้ฉวยโอกาสที่จะเข้าแสวงหาผลประโยชน์อันไม่เป็นธรรมแก่ราษฎรผู้ประสบภัยซึ่งยากจน
และขาดแคลนข้าวเพื่อบริโภค
เพื่อเป็นพื้นฐานให้ราษฎรได้เข้าใจหลักการเบื้องต้นของระบบสหกรณ์ซึ่งจะได้ดำเนินการที่สมควรต่อไป
เพื่อสร้างเสริมอุปนิสัยของราษฎรผู้ประสบภัยให้รู้จักอยู่ร่วมกันในระบอบประชาธิปไตย โดยการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
มีความรับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัว สังคมและผู้อื่น อีกทั้งยังเป็นการกระตุ้นให้ราษฎรมีความขยันขันแข็ง
ในการประกอบอาชีพ
เพื่อเป็นพื้นฐานในการสร้างความสัมพันธ์และความเข้าใจอันดีระหว่างราษฎรกับเจ้าหน้าที่
เพื่อเป็นการช่วยเหลือราษฎรให้รู้จักประหยัดทรัพย์
หลักการตั้งโครงการธนาคารข้าว
จัดตั้งในหมู่บ้านที่มีประชาชนร้องขอหรือทราบว่าราษฎรขาดแคลนเพื่อบริโภคและไม่สามารถดำเนินการจัดหาข้าว เพื่อบริโภคในหมู่บ้านได้เพียงพอ
ไม่จัดตั้งซ้ำซ้อนหรือใกล้เคียงกับหมู่บ้านที่มีการจัดตั้งโครงการธนาคารข้าวของหน่วยงานอื่นที่ได้ดำเนินการอยู่

พิจารณาพื้นที่ที่จัดตั้งโดยคำนึงถึงประโยชน์ที่จะได้รับต่อหมู่บ้านบริวาร
ดำเนินการจัดตั้งในหมู่บ้านที่มีความปลอดภัยในการควบคุมและติดตามผล
ไม่เป็นหมู่บ้านที่มีแนวโน้มที่จะมีการโยกย้าย
ปัจจุบันกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 33มีธนาคารข้าวในความรับผิดชอบ จำนวน 20 แห่ง
โดยเริ่มจัดตั้งครั้งแรกในวันที่ 3 กันยายน 2514 ณ บ้านห้วยหลวง อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่ การดำเนินการได้ติดตามผล
การปฏิบัติทุกรอบเดือน ราษฎรได้กู้ยืมข้าว โดยมีคณะกรรมการในหมู่บ้านเป็นผู้ดำเนินการการดำเนินการที่ผ่านมา
ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี

2.โครงการธนาคารข้าว



เนื่องด้วยลักษณะภุมิประเทศบริเวณพื้นที่ชายแดนภาคเหนือของประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงชันและเป็นท้องถิ่นทุรกันดารราษฎรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ดังกล่าวส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านการเกษตรซึ่งมีพื้นที่ดำเนินการจำกัด ประกอบกับบ่อยครั้งที่ต้องประสบภัยทางธรรมชาติ ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรได้รับความเสียหายอยู่เสมอ อันเป็นผลให้ราษฎร ต้องขาดแคลนข้าวเพื่อบริโภคในบางปีเหตการณ์เหล่านี้พระบาทสมเด็พระเจ้าอยู่หัวฯได้ทรงรับทราบและทรงมีความห่วงใยพสกนิกร ผู้ประสบภัยทางธรรมชาติ
เป็นอย่างยิ่งพระองค์ทรงมีพระราชดำริในชั้นต้น เพื่อหาแนวทางที่จะแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อเป็นการช่วยเหลือ
บรรเทาความเดือดร้อนของราษฎรเหล่านั้น จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้รีบดำเนินการช่วยเหลือโดย การจัดตั้งโครงการ
ธนาคารข้าวขึ้นในหมู่บ้านที่ประสบภัยดังกล่าวขึ้น

วัตถุประสงค์ของการจัดตั้ง
เพื่อให้เป็นไปตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของราษฎรที่ประสบทุพภิกขภัยในถิ่นทุรกันดาร
เพื่อให้ราษฎรผู้ประสบภัยมีข้าวพอเพียงต่อการบริโภคตลอดปี
เพื่อป้องกันผู้ฉวยโอกาสที่จะเข้าแสวงหาผลประโยชน์อันไม่เป็นธรรมแก่ราษฎรผู้ประสบภัยซึ่งยากจน
และขาดแคลนข้าวเพื่อบริโภค
เพื่อเป็นพื้นฐานให้ราษฎรได้เข้าใจหลักการเบื้องต้นของระบบสหกรณ์ซึ่งจะได้ดำเนินการที่สมควรต่อไป
เพื่อสร้างเสริมอุปนิสัยของราษฎรผู้ประสบภัยให้รู้จักอยู่ร่วมกันในระบอบประชาธิปไตย โดยการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
มีความรับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัว สังคมและผู้อื่น อีกทั้งยังเป็นการกระตุ้นให้ราษฎรมีความขยันขันแข็ง
ในการประกอบอาชีพ
เพื่อเป็นพื้นฐานในการสร้างความสัมพันธ์และความเข้าใจอันดีระหว่างราษฎรกับเจ้าหน้าที่
เพื่อเป็นการช่วยเหลือราษฎรให้รู้จักประหยัดทรัพย์
หลักการตั้งโครงการธนาคารข้าว
จัดตั้งในหมู่บ้านที่มีประชาชนร้องขอหรือทราบว่าราษฎรขาดแคลนเพื่อบริโภคและไม่สามารถดำเนินการจัดหาข้าว เพื่อบริโภคในหมู่บ้านได้เพียงพอ
ไม่จัดตั้งซ้ำซ้อนหรือใกล้เคียงกับหมู่บ้านที่มีการจัดตั้งโครงการธนาคารข้าวของหน่วยงานอื่นที่ได้ดำเนินการอยู่

พิจารณาพื้นที่ที่จัดตั้งโดยคำนึงถึงประโยชน์ที่จะได้รับต่อหมู่บ้านบริวาร
ดำเนินการจัดตั้งในหมู่บ้านที่มีความปลอดภัยในการควบคุมและติดตามผล
ไม่เป็นหมู่บ้านที่มีแนวโน้มที่จะมีการโยกย้าย
ปัจจุบันกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 33มีธนาคารข้าวในความรับผิดชอบ จำนวน 20 แห่ง
โดยเริ่มจัดตั้งครั้งแรกในวันที่ 3 กันยายน 2514 ณ บ้านห้วยหลวง อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่ การดำเนินการได้ติดตามผล
การปฏิบัติทุกรอบเดือน ราษฎรได้กู้ยืมข้าว โดยมีคณะกรรมการในหมู่บ้านเป็นผู้ดำเนินการการดำเนินการที่ผ่านมา
ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี