นวัตกรรมและเทคโนโลยี

นวัตกรรมการศึกษา

"นวัตกรรมการศึกษา (Educational Innovation )" หมายถึง นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษา และการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม เกิดแรงจูงใจในการเรียนด้วยนวัตกรรมการศึกษา และประหยัดเวลาในการเรียนได้อีกด้วย ในปัจจุบันมีการใช้นวัตกรรมการศึกษามากมายหลายอย่าง ซึ่งมีทั้งนวัตกรรมที่ใช้กันอย่างแพร่หลายแล้ว และประเภทที่กำลังเผยแพร่ เช่น การเรียนการสอนที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Aids Instruction) การใช้แผ่นวิดีทัศน์เชิงโต้ตอบ (Interactive Video) สื่อหลายมิติ ( Hypermedia ) และอินเทอร์เน็ต [Internet] เหล่านี้ เป็นต้น (วารสารออนไลน์ บรรณปัญญา.htm) “นวัตกรรมทางการศึกษา” (Educational Innovation) หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียน และช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน เช่น การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้วีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ(Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต เหล่านี้เป็นต้น เทคโนโลยีทางการศึกษา


เทคโนโลยี หมายถึงการใช้เครื่องมือให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในการแก้ปัญหา ผู้ที่นำเอาเทคโนโลยีมาใช้ เรียกว่านักเทคโนโลยี (Technologist) (boonpan edt01.htm) เทคโนโลยีทางการศึกษา (Educational Technology) ตามรูปศัพท์ เทคโน (วิธีการ) + โลยี(วิทยา) หมายถึง ศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีการทางการศึกษา ครอบคลุมระบบการนำวิธีการ มาปรับปรุงประสิทธิภาพของการศึกษาให้สูงขึ้นเทคโนโลยีทางการศึกษาครอบคลุมองค์ประกอบ 3 ประการ คือ วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ (boonpan edt01.htm)



วันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

4.โครงการพัฒนา 5 หมู่บ้านตามแนวพระราชดำริ



ความเป็นมา

เมื่อวันที่ 29 – 30 ธันวาคม 2540 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ไปทรงเยี่ยมโครงการ
ตามแนวพระราชดำริที่โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ในพื้นที่ อ.อุ้มผาง และอ.แม่สอด จ.ตาก มีพระราชกระแสผ่าน
ว่าที่ ร.ต.กิตติ ขันธมิตร รองผู้อำนวยการโครงการส่วนพระองค์ฯ ให้กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน ดำเนินงาน
และสนับสนุนการดำเนินงานเกี่ยวกับการเรียนการสอนในพื้นที่ อุ้มผาง และอ.แม่สอด จ.ตาก รวมทั้งให้ตำรวจตระเวน
ชายแดนจัดตั้งโรงเรียนปฏิบัติการจิตวิทยาขุนห้วยแม่สอด (ร.ร.ตชด. ชั่วคราว) เป็นโรงเรียนที่ระลึกแก่ ท่านผู้หญิงทวี
มณีนุตร พระอภิบาลซึ่งถึงแก่กรรมเนื่องจากอุบัติเหตุเฮลิคอปเตอร์ในขบวนเสด็จฯ ตก เมื่อ 19 ก.ย. 40
ต่อมาเมื่อ 2 มค. 41 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระราชกระแสเพิ่มเติมกับว่าที่ ร.ต.กิตติ
ิ ขันธมิตร ณ อาคารชัยพัฒนา สวนจิตรดา เป็นการเพิ่มเติม สรุปสระสำคัญได้ว่า ให้มีการพัฒนาหมู่บ้านพะเด๊ะ หมู่บ้าน
ถ้ำเสือและหมู่บ้านขุนห้วยแม่สอด ต.พระธาตุผาแดง อ.แม่สอด จ.ตาก โดยใช้หมู่บ้านขุนห้วยแม่สอดเป็นศูนย์กลางการ
พัฒนา(ต่อมาเพิ่มอี 2 หมู่บ้าน คือ บ.หนองน้ำเขียว และ บ.โกช่วย รวมเป็น 5 หมู่บ้าน) ในการพัฒนาดังกล่าวทรงโปรด
ให้ดำเนินงาน แบบศูนย์การศึกษาพัมนาขนาดเล็ก โดยให้มีกิจกรรมครอบคลุมการแก้ไขปัญหาสำคัญต่างๆ
รวม 4 ด้าน ดังนี้
1. ให้แก้ปัญหาด้านสาธารณสุขแก่ประชาชนในพื้นที่ โดยเฉพาะปัญหาเกี่ยวกับโรคมาลาเรีย
2. ให้พัมนาอาชีพของประชาชนในพื้ นที่ เพื่อให้ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้น
3. ให้ดำเนินการเกี่ยวกับการศึกษาของเด็ก เยาวชน และประชาชนในพื้นที่
4. ให้อนุรักษ์และส่งเสริมวัฒนธรรมท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัฒนธรรมเกรี่ยง ทั้งขนบธรรมเนียม ประเพณี
ภาษาพูดและภาษาเขียน
หลังจากที่ได้รับพระราชทานแนวพระราชดำริแล้ว สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สามเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกมารี ร่วมกับกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน และหน่วยราชการในพื้นที่ได้จัดการประชุมร่วมกันเพื่อ
จัดทำแผนแม่บทในการพัฒนาพื้นที่ 3 หมู่บ้านคือ หมู่บ้านพะเด๊ะ หมู่บ้านเสือถ้ำ และหมู่บ้านขุนห้วยแม่สอด
ต.พระธาตุผาแดง อ.แม่สอด จ.ตาก
แผนแม่บทในการพัฒนาพื้นที่เป้าหมาย 3 หมู่บ้าน ตามแนวพระราชดำริ ประกอบด้วย 6 แผนงาน ดังนี้
1. แผนงานด้านสาธารณสุข
2. แผนงานด้านการศึกษา
3. แผนงานด้านการแก้ไขปัญหาชุมชน
4. แผนงานด้านการบริหารจัดการ

วัตถุประสงค์ในการพัฒนา
1. เพื่อแก้ไขปัญเฉพาะหน้าที่ประชาชนเผชิญอยู่ ทั้งปัญหาด้านสาธารณสุข การศึกษา อาชีพ และปัญหาอื่นๆ
ของชุมชน
2. เพื่อจัดเตรียมประชาชนให้มีความพร้อมสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืนอันจะนำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างถาวร
3. เพื่อให้ชุมชนเป็ฯศูนย์การศึกษาพัฒนาของท้องถิ่นใกล้เคียง

แนวทางในการพัฒนา
1. มีการพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างต่อเนื่อง โดยมีเป้าหมาย “พอมี พอกิน และอยู่อย่างเป็นสุข”
2. มีการรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยใช้จุดแข็งทางวัฒนธรรรมทางสังคมให้เป็นประโยชน์ในการ
จัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่นให้กลับสู่ความสมบูรณืมีความสมดุล
กับระบบนิเวศน์ในพื้นที่ รวมทั้งการรักษาสิ่งแวดล้อมให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของประชาชนในชุมชนให้สามารถนำมา
ใช้ประโยชน์ได้
3. การรักษาวิถีชีวิต ประเพณี วัฒนธรรมอันดี โดยมีการศึกษาค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับวิถีชีวิตประเพณีและวัฒนธรรม
ของประชาชนในชุมชนรวมทั้งประยุกต์กิจกรรมในการพัฒนาให้เข้ากับวิถีชีวิตประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่น

การปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมายของการพัฒนา
1. การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า คือ การมุ่งเน้นแก้ไขปัญหาของประชาชน ตามแนวพระราชดำริของสมเด็จพระเทพ
รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทั้งในด้านสาธารณสุข ด้านการศึกษา ด้านอาชีพ รายได้และด้านการอนุรักษ์ประเพณี
วัฒนธรรม โดยการเน้นให้เกิดกระบวนการ ร่วมคิด – ร่วมทำ ระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐและประชาชน เป็นการกระตุ้นเร้า
ให้ประชาชนมีบทบาทในการพัฒนาชุมชนของตนเอง
2. การพัฒนาคนให้คิดเอง – ทำเอง ผลที่จะได้รับจากการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเมื่อประชาชนได้รับการกระตุ้น
ให้เข้ามีส่วนร่วมในกิจกรรมการพัฒนา เจ้าหน้าที่ของรัฐจะต้องพยายามให้ประชาชนมีบทบาทในการร่วมคิดร่วมทำเองได้
3. การสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง โดยใช้กิจกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเป็นเครื่องมีในการสร้างความเข้มแข็ง
ให้แก่ชุมชน กล่าวคือในการดำเนินงานทุกกิจกรรมนอกจากจะให้ประชาชนมีส่วนร่วมคิดร่วมทำแล้ว ยังต้องทำให้เกิดการ
รวมกลุ่มกันอย่างเข้มแข็งอย่างถาวร นอกจากนี้ยังต้องเสริมสร้างและพัฒนศักยภาพของชุมชนในทุกด้าน ให้มีศักยภาพ
เพียงพอจนสามารถพึ่งตนเองได้ในที่สุด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น