นวัตกรรมและเทคโนโลยี

นวัตกรรมการศึกษา

"นวัตกรรมการศึกษา (Educational Innovation )" หมายถึง นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษา และการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม เกิดแรงจูงใจในการเรียนด้วยนวัตกรรมการศึกษา และประหยัดเวลาในการเรียนได้อีกด้วย ในปัจจุบันมีการใช้นวัตกรรมการศึกษามากมายหลายอย่าง ซึ่งมีทั้งนวัตกรรมที่ใช้กันอย่างแพร่หลายแล้ว และประเภทที่กำลังเผยแพร่ เช่น การเรียนการสอนที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Aids Instruction) การใช้แผ่นวิดีทัศน์เชิงโต้ตอบ (Interactive Video) สื่อหลายมิติ ( Hypermedia ) และอินเทอร์เน็ต [Internet] เหล่านี้ เป็นต้น (วารสารออนไลน์ บรรณปัญญา.htm) “นวัตกรรมทางการศึกษา” (Educational Innovation) หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียน และช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน เช่น การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้วีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ(Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต เหล่านี้เป็นต้น เทคโนโลยีทางการศึกษา


เทคโนโลยี หมายถึงการใช้เครื่องมือให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในการแก้ปัญหา ผู้ที่นำเอาเทคโนโลยีมาใช้ เรียกว่านักเทคโนโลยี (Technologist) (boonpan edt01.htm) เทคโนโลยีทางการศึกษา (Educational Technology) ตามรูปศัพท์ เทคโน (วิธีการ) + โลยี(วิทยา) หมายถึง ศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีการทางการศึกษา ครอบคลุมระบบการนำวิธีการ มาปรับปรุงประสิทธิภาพของการศึกษาให้สูงขึ้นเทคโนโลยีทางการศึกษาครอบคลุมองค์ประกอบ 3 ประการ คือ วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ (boonpan edt01.htm)



วันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

7.โครงการฝึกอบรมศิลปาชีพบนพระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์

ความเป็นมา

เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2534 เวลา 12.00 น. พล.ต.ต.วัฒนา บุนนาค ผบก.ตชด.ภาค 3 ,พ.ต.อ.กุลเชษฐ์ สิงหรา ณ อยุธยา ผกก.ตชด.33,พ.ต.ท.ชัชวาล สุคธมาน หนผ.5 กก.ตชด.33 ได้เดินทางเข้าพบท่านผู้หญิงสุประภาดา เกษมสันต์ราชเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระบรมราชินีนาถณ ตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ .งได้ขอให้นำข้อมูลเกี่ยวกับหมู่บ้านยากจน ในพื้นที่ จว.แม่ฮ่องสอน และจ.เชียงใหม่ ไปพบ เนื่องจากได้รับพระราชเสาวนีย์สมเด็จพระบรมราชินีนาถ ใหตำรวจตระเวนชายแดนซึ่งปฏิบัติหน้าที่อยู่ใกล้ชิดประชาชนในเขตหมู่บ้านดังกล่าวมาเข้ารับการอบรมวิชาชีพที่ศูนย์ฝึกศิลปาชีพบนพระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ จากการเข้าพบในครั้งนี้ได้มี ดร.ไพศาล ล้อมทองและคุณนิพนธ์ เล้าสินวัฒนา เจ้าหน้าที่สำนักพระราชวังซึ่งดูแลเรื่องการฝึกอาชีพนี้ร่วมพิจารณาด้วย
จากการนำเสนอข้อมูลราษฎรในหมู่บ้านยากจนเข้าชี้แจงครั้งนี้ ท่ายผู้หญิงสุประภาดา เกษมสันต์ ได้พิจารณา
และขอให้ทางกองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค 3 และกงอกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 33
พิจารณาความเหมาะสมและสมัครใจของราษฎรหมู่บ้านยากจนในเขต จ.แม่ฮ่องสอน และจ.เชียงใหม่ มาเข้าอบรม
ศิลปาชีพในพระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ จำนวน 29 คนเป็น ชาย-หญิง ที่สมัครใจโดยมิต้องมีความรู้วิชาชีพเดิม
มาก่อนก็ได้ โดยให้ชี้แจงแกราษฎรว่ามีวิชาชีพต่างๆ ให้เลือกฝึก ทางศูนย์ศิลปาชีพจัดที่พักอาศัย อาหาร เสื้อผ้า
และเบี้ยเลี้ยง วันละ 50.- บาทให้ด้วย ขอให้นำราษฎรที่สมัครใจเข้ารับการอบรมโดยเร็ว ช่วงระยะเวลาในช่วงแรก
ที่ทรงแประพระราชฐานอยู่ที่พระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์นี้
ดร.ไพศาล ล้อมทอง ได้ขอข้อมูลเบื้องต้น หมู่บ้านที่นำราษฎรมาอบรมแผนผังหมู่บ้าน เส้นทางเข้า-ออก หมู่บ้าน
โดยสังเขปทั้งหมดด้วย และขอให้จัดเจ้าหน้าที่ ตชด.1 นาย เพื่อช่วยประสานงานในศูนย์ฝึกบนพระตำหนักภูพิงค์ด้วย
ผกก.ตชด.33 ได้มอบหมายให้ ร.ต.อ.พงค์พิชญ์ วงศ์สวัสดิ์ ปจผ.5กก.ตชด.33เป็นเจ้าหน้าที่ติดต่อและเจ้าหน้าที่ตำรวจ
ตระเวนชายแดนที่มีความรู้ทางภาษาท้องถิ่น 1 นายเป็นเจ้าหน้าที่ประสานงาน
คุณนิพนธ์ เล้าสินวัฒนา ได้นำคณะ ผบก.ฯไปเยี่ยมชมการฝึกอาชีพต่างๆ ที่ศูนย์ในพระตำหนักซึ่งมีอาชีพ
สาขาต่างๆ ได้แก่
- ฝึกทอผ้า - ดอกไม้ประดิษฐ์
- ช่างเงิน - ช่างถมทอง
- ช่างปั้นเซรามิก - ตัดเย็บเสื้อผ้า
- วาดภาพ - แกะสลักไม้
ฯลฯ
และได้ให้หมายเลขโทรศัพท์ในการติดต่อประสานงานในเรื่องนี้คือ โทร.223066-72
กก.ตชด.33 ได้รับนโยบาย และได้เร่งดำเนินการพิจารณาจากหมู่บ้านยากจน จาก จ.แม่ฮ่องสอน , จ.เชียงใหม่
ตามที่ได้นำรายละเอียดเกี่ยวกับหมู่บ้านที่ทาง กก.ตชด.33 เข้าไปพัฒนาเสริมความมั่นคงอยู่ เพื่อเข้ารับการอบรมโดยด่วน
และสามารถรับราษฎรมาเข้ารับการอบรมได้ในวันที่ 4 มี.ค.2534 กก.ตชด.33ได้คัดเลือกราษฎรในพื้นที่ จ.เชียงใหม่ ,
จ.แม่ฮ่องสอน เข้ารับการฝึกอบรมศิลปาชีพ ณ ตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ ในครั้งนี้ จำนวน 29 คน โดยแยกได้ ดังนี้
1. บ้านห้วยหอย ต.แม่วิน กิ่ง อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่
1.1 นายดี บอแป๊ะ
1.2 นายเกชิด พะแก
2. อำเภอแม่ลาน้อย จ.แม่ฮ่องสอน
2.1 นายซอกิริ เฉิดโฉมฉาย
2.2 นายทองสุข ไพรขจี
2.3 น.ส.พร กันเต็ง
2.4 น.ส.นงคราญ ปิ่นตาคำ
2.5 น.ส.หน่อปูทอ เฉิดโฉมฉาย
2.6 น.ส.มะลิวัลย์ เชิงประโคนรักษ์
2.7 น.ส.แสงรักษ์ นำผลนักรบ
2.8 นายไพโรจน์ ซาววงศ์
2.9 นายตัน ซาววงศ์
2.10 น.ส.แสงคำ เกิดสันติสุข
2.11 น.ส.สมศรี จองก่า
2.12 นายแดง นิ่มนวลสิงขร
2.13 นายส่วยคำ ลักษณะพรรณดี
2.14 นายยุติ วาทีบุปผา
2.15 น.ส.สวย เหล่าตระกูลไพร
2.16 น.ส.อังคณา สุเสถียรจรัส
3. อำเภอขุนยวม จ.แม่ฮ่องสอน
3.1 นายสมศักดิ์ ฤดีพรพรรณ
3.2 นายสมหวัง สถิตย์สุนทร
3.3 น.ส.ประยงค์ -
3.4 น.ส.สำลี กอนันทนานนท์
3.5 นายจำลอง ก้อนปัญจธรรม
3.6 นายอำพัน ผาตินันทะชัย
3.7 นายสุพจน์ ชมชอบธรรม
3.8 นายกระจ่าง -
3.9 นายกุแนะ -
3.10 น.ส.ฟองจันทร์ ปกรณ์ไพรวนา
3.11 น.ส.บุญธรรม ใจรวมหมู่
ผู้เข้ารับการอบรมทั้ง 29 คน ได้เลือกฝึกอบรม 3 แผนก ดังนี้
1. แผนกเกษตรหมู่บ้าน มีผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 15 คน
- การปลูกข้าวไร่ - การปลูกข้าวโพด
- พืชผักสวนครัว - การติดตา การตอน ทาบกิ่ง เสียบยอด
- การขุดบ่อเลี้ยงปลา - การเลี้ยงปลานิล,ปลาไน
2. แผนกทอผ้าฝ้าย มีผู้รับเข้าการอบรม จำนวน 6 คน
- การทอฝ้ายขั้นพื้นฐาน - การเก็บตะขอ
- การย้อมสีฝ้าย ( สีเคมี )
3. แผนกปักผ้า มีผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 8 คน
- ปักผ้าลายชาวเขา - ปักผ้าลายดอกไม้
การฝึกอบรมใช้วิทยากรจากศูนย์ศิลปาชีพสวนจิตรลดา กทม.ฯ พร้อมทั้ง จนท.เกษตรในพระองค์ประจำพระตำหนัก
ภูพิงค์ราชนิเวศน์ เป็นวิทยากรบรรยาย จนเสร็จสิ้นการอบรม ในระหว่างการฝึกอบรมทางศูนย์ฯได้จ่ายเบี้ยเลี้ยงให้วันละ
50.-บาท/คน โดยทางศูนย์ฯจ่ายเงินเป็นงวดๆ ละ 6 วัน ผู้เข้ารับการอบรมได้รับเงินทั้งหมด 3 งวดๆละ 300.-บาท ( ยกเว้น
วันแรกได้รับ 250.-บาท )
ผู้เข้ารับการอบรมได้รับการอบรม จนถึงวันที่ 24 มี.ค.34 และได้รับเงินพระราชทานจากสมเด็จพระนางเจ้าฯ
พระบรมราชินีนาถ ดังนี้
- ได้รับรายละ 5,000.- บาท 2 ราย
1. นายไพโรจน์ ซาววงศ์
2. นายตัน ซาววงศ์
- ได้รับรายละ 4,000.- บาท 2 ราย
1. นายซอกิริ เฉิดโฉมฉาย
2. นายทองสุข ไพรขจี
- ได้รับรายละ 3,000.- บาท 25 รายที่เหลือทั้งหมด
ราษฎรทั้ง 29 คน ที่จบการฝึกอบรมฯ ไปแล้วได้กลับไปประกอบอาชีดที่ภูมิลำเนาของตนเอง ตั้งแต่ มี.ค.34เป็นต้นมา
และกก.ตชด.33 ได้มอบหมายให้ ร้อย ตชด. ในพื้นที่รับผิดชอบจัดเจ้าหน้าที่ตำรวจไปติดตามผลการปฏิบัติงาน พร้อมกับ
รับทราบปัญหาอุปสรรคต่างๆ เพื่อจะนำไปแก้ไขต่อไป พร้อมกับรายงานผลให้หน่วยเหนือรับทราบ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น