นวัตกรรมและเทคโนโลยี

นวัตกรรมการศึกษา

"นวัตกรรมการศึกษา (Educational Innovation )" หมายถึง นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษา และการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม เกิดแรงจูงใจในการเรียนด้วยนวัตกรรมการศึกษา และประหยัดเวลาในการเรียนได้อีกด้วย ในปัจจุบันมีการใช้นวัตกรรมการศึกษามากมายหลายอย่าง ซึ่งมีทั้งนวัตกรรมที่ใช้กันอย่างแพร่หลายแล้ว และประเภทที่กำลังเผยแพร่ เช่น การเรียนการสอนที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Aids Instruction) การใช้แผ่นวิดีทัศน์เชิงโต้ตอบ (Interactive Video) สื่อหลายมิติ ( Hypermedia ) และอินเทอร์เน็ต [Internet] เหล่านี้ เป็นต้น (วารสารออนไลน์ บรรณปัญญา.htm) “นวัตกรรมทางการศึกษา” (Educational Innovation) หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียน และช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน เช่น การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้วีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ(Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต เหล่านี้เป็นต้น เทคโนโลยีทางการศึกษา


เทคโนโลยี หมายถึงการใช้เครื่องมือให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในการแก้ปัญหา ผู้ที่นำเอาเทคโนโลยีมาใช้ เรียกว่านักเทคโนโลยี (Technologist) (boonpan edt01.htm) เทคโนโลยีทางการศึกษา (Educational Technology) ตามรูปศัพท์ เทคโน (วิธีการ) + โลยี(วิทยา) หมายถึง ศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีการทางการศึกษา ครอบคลุมระบบการนำวิธีการ มาปรับปรุงประสิทธิภาพของการศึกษาให้สูงขึ้นเทคโนโลยีทางการศึกษาครอบคลุมองค์ประกอบ 3 ประการ คือ วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ (boonpan edt01.htm)



วันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

6.โครงการเกษตรแม่แดง

ความเป็นมา
กก.ตชด.เขต 5 ( เดิม ) มีหน้าที่รับผิดชอบ 4 จังหวัด คือเชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน และน่าน ภูมิประเทศทั้ง
4 จังหวัด เป็นภูเขาสูงป่าทึบและทุรกันดารการคมนาคมลำบาก การขนส่งสัมภาระกระทำได้ 2 วิธี คือการขนส่งทาง
อากาศโดยเฮลิคอปเตอร์หรือเครื่องบิน ส่วนทางบกใช้สัตว์ต่างเพราะไม่มีเส้นทางคมนาคม การขนส่งทางอากาศ สะดวก
รวดเร็ว แต่ยานพาหนะไม่เพียงพอ ส่วนทางบกต้องเช้าหรือว่าจ้างสัตว์ของราษฎรทำการขนส่ง ซึ่งยุ่งยากลำบากไม่ทันกับ
เหตุการณ์
กก.ตชด.เขต5เดิม และที่ปรึกษาอเมริกัน ได้ร่วมกันพิจารณาปัญหานี้และมีมติว่า ตชด.สมควรจะมีสัตว์ต่างๆ
ขนส่งสัมภาระกันเอง และเห็นว่าเป็นสัตว์ที่แข็งแรงอดทน เหมาะสมที่สุด ดังนั้นในปี 2505 กก.ตชด.เขต5 ( เดิม )
จึงขอเข้าทำประโยชน์ในที่ป่าสงวนป่าอินทขิล ตำบลอินทขิล อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ ระหว่าง กม. ที่45-48 ถ.เชียงใหม่
– ฝาง เนื้อที่ทั้งสิ้น 5,625 ไร่ กระทรวงเกษตรฯ ได้เพิกถอนป่าอินทขิลตาม พ.ร.ก. กำหนดป่าอินทขิล ตามกฎกระทรวง
ฉบับที่ 129 ( พ.ศ.2505 ) ประกาศตามราชกิจจานุเบกขา 6 พ.ค. 2505 เล่มที่ 79 ตอนที่ 99 และอนุมัติให้กรมตำรวจ
เข้าทำประโยชน์ในพื้นที่น
ี้ ในปี พ.ศ.2506 ที่ปรึกษาอเมริกัน ได้เงินทุนสมทบมาดำเนินการก่อสร้างโรงเรียนและสำนักงานถาวรและจัดหา
พ่อพันธุ์ม้า มาดำเนินการผลิตล่อตามโครงการ การดำเนินงานบรรลุเป้าหมาย
ต่อมาในปี พ.ศ. 2508 กก.ต.ช.ด.เขต 5 ( เดิม ) และที่ปรึกษาอเมริกันมีความเห็นร่วมกันว่าประชาชนในพื้นที่
รับผิดชอบมีอาชีพกสิกรรมและเลี้ยงสัตว์ แต่มิได้นำวิวัฒนาการทางการเกษตรไปใช้คงดำเนินการเยี่ยงบรรพบุรุษ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำไร่เลื่อนลอย เป็นการทำลายทรัพยากรธรรมชาติอย่างใหญ่หลวงและชาวเขาปลูกฝิ่นอันเป็น
การกระทำที่ผิดกฎหมาย สมควรจะทำการพัฒนาด้านอาชีพเข้าไปช่วยเหลือในรูปศูนย์พัฒนาการ โดยใช้คนในพื้นที่
เป็นเจ้าหน้าที่ดำเนินการ
เป้าหมายหลักของศูนย์พัฒนาการคือการแนะนำและสาธิตเกี่ยวกับการปลูกพืชเลี้ยงสัตว์เจ้าหน้าที่ประจำศูนย
์พัฒนาการจะต้องได้รับการอบรม และจะต้องมีพรรณสัตว์และพืชสนับสนุนโครงการจึงจะสำเร็จ การดำเนินการในปีแรก
สิ้นเปลืองค่าสัตว์และพืชเป็นวงเงินสูงมาก แต่ไม่ได้สัตว์หรือพืชที่เหมาะสมกับภูมิประเทศ
เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการจัดหาพรรณสัตว์และพืช จึงได้ตั้งโครงการผลิตพรรณสัตว์และพืชเอง โดยให้หน่วยผลิต
และฝึกสัตว์ต่าง ที่อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ รับผิดชอบดำเนินการ เมื่อรวมกิจการทั้ง 2 เข้าด้วยกันแล้วเรียกว่า “
หน่วยผสมพรรณสัตว์และพืชเกษตรแม่แตง ” จากการดำเนินงานปรากฏว่าสามารถผลิตสัตว์สนับสนุนศูนย์พัฒนาการได
้ตามความต้องการ ส่วนพืชยืนต้นนั้นยังไม่สามารถผลิตแจกจ่ายได้เพราะเป็นพืชที่ต้องใช้เวลานาน
พื้นที่ใช้ดําเนินการนี้ ได้แบ่งให้ กก.5บก.กฝ.จัดตั้งที่หน่วย บ้านพัก จํานวน 1,208 ไร่ คงเหลือ จํานวน 4,417 ไร่
ใช้เป้นที่ดําเนินงานโครงการและมีวัตถุประสงค์ดังนี้
1.1 ชื่อโครงการ " โครงการผสมพรรณสัตว์และพืช "
1.2 ระยะเวลาดําเนินการ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2506 จนถึงปัจจุบัน
1.3 โครงการย่อย
1.3.1 โครงการผลิตพรรณสัตว์
1.3.2 โครงการขยายพรรณพืช
1.3.3 โครงการผลิตและฝึกสัตว์ต่าง
1.4 วัตถุประสงค์
1.4.1 ผลิตและฝึกสัตว์ต่างสนับสนุนการปฏิบัติทางยุทธวิธี
1.4.2 ผลิตสัตว์สนับสนุนศูนย์พัฒนาการ
1.4.3 ขยายพรรณพืชสนับสนุนศูนย์พัฒนาการ
1.4.4 ทดลองพันธุ์และสาธิตการปลูกพืชและสัตว์เลี้ยง
1.4.5 ให้เป็นสถานที่ฝึกอบรมและสาธิตในการฝึกอบรมชุดพัฒนาการ
1.4.6 ลดงบประมาณค่าสัตว์และพรรณพืช
1.4.7 ให้คําแนะนําช่วยเหลือในการปลูกพืชและสัตว์เลี้ยง แก่ชาวเขาและประชาชนไกลคมนาคม
1.5 การดําเนินงานตั้งแต่ปี 2506-2517 ใช้เงินทุนสมทบจากสหรัฐอเมริกา ในปี 2518 สหรัฐอเมริกาตัดความ
ช่วยเหลือ จึงได้ใช้งบประมาณแผ่นดินดําเนินการต่อมา
2. การดําเนินงานต่อเนื่อง-ถึงปัจจุบัน
2.1 ที่ตั้ง
กก.ตชด.33 ได้มอบหมายให้ มว.พก.ตชด.332 ไปตั้งที่ทําการ ณ โครงการผสมพรรณสัตว์และพืช
บ.ปากกว้าง ต.อนิทขิล อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ พื้นที่ดําเนินการปัจจุบันคงเหลือจํานวน 3,527 ไร่ เรียกกันว่า
" โครงการเกษตรแม่แตง " บก.ตชด.ภาค 3 ได้ใช้พื้นที่นี้จํานวน 200ไร่ เป็นที่ตั้งที่ทําการบ้านพักของ ศอน.ร.ร.ตชด.
2.2 ภารกิจ
กก.ตชด.33 ยังคงดํารงความมุ่งหมายเดิม โครงการผสมพรรณสัตว์และพืชไว้ โดยให้มว.พก.ร้อย ตชด.332
ดําเนินการเลี้ยงสัตว์ปลูกพืชและขยายพันธุ์แจกจ่าย เพื่อสนับสนุนกิจการของ ตชด.มาอย่างต่อเนื่อง และให้การช่วยเหลือผู้
ู้ประสบภัยธรรมชาติในพื้นที่ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ และใกล้เคียงอีกภารกิจด้วย
3. วัตถุประสงค์
เนื่องจากสถานการณ์ได้เปลี่ยนแปลงไป การผลิตพรรณสัตว์เพื่อสนับสนุนการปฏบัติทางยุทธวิธีได้ยกเลิกไป
คงเหลือการผลิตพรรณสัตว์และพืช เพื่อวัตถุประสงค์ดังนี้
3.1 แจกจ่าย ร.ร.ตชด. ในความรับผิดชอบเพื่อสนับสนุนโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
3.2 แจกจ่าย นร.ศอน.ร.ร.ตชด. หลังจบการศึกษาอบรม เพื่อนําไปประกอบอาชีพ
3.3 แจกจ่ายชาวไทยภูเขา และประชนไกลคมนาคมที่ยากจน
3.4 สนับสนุนการพัฒนาที่ตั้งหน่วย บก.ตชด.ภาค 3 , กก.ตชด.33 และหน่วยรองรวมทั้ง ร.ร.ตชด.
ในความรับผิดชอบ
3.5 สนับสนุนหน่วยงานอื่น เมื่อได้รับการร้องขอตามความเหมาะสม
4. งบประมาณ
บช.ตชด. ได้จัดสรรเงินงบประมาณสายพัฒนาการให้กับโครงการเกษตรแม่แตง เป็นเงิน 299,071.- บาท
แยกเป็นดังนี้ ( ตัวอย่างข้อมูลเก่า )
4.1 ค่าอาหารสัตว์ จํานวน 274,537.- บาท
4.2 ค่าจัดซื้อแม่พันธุ์สุกร จํานวน 4,000.- บาท
4.3 ค่าจัดซื้อวัสดุการแพทย์สําหรับสัตว์ จํานวน 9,199.- บาท
4.4 ค่าจัดซื้อวัสดุการเกษตรสําหรับพืช จํานวน 11,335.- บาท
รวมงบประมาณที่ได้รับ จํานวน 299,071.- บาท

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น